พระญาณรังษี (จวบ สุภัทโท) เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง วัดป่าญาณรังษี ต.ท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี โดยมี พระราชรัตนวิมล เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ผู้อุปถัมภ์วัดป่าญาณรังษี
(ภาพ)ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระญาณรังษี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542
(ภาพ) พระราชรัตนวิมล เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี (ซ้าย) | พระสมุห์ อาคม ญาณโสภโณ รักษาการ เจ้าอาวาสวัดป่าญาณรังษี (ขวา)
พระญาณรังษี เป็นผู้สืบทอดสายวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามแนวของ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร
(สุก ไก่เถื่อน) จากพระครูสังวร สมาธิวัตร(หลวงปู่แป๊ะ) จนมีความเชี่ยวชาญและได้เป็นอาจารย์ อบรมวิปัสสนา
กัมมัฏฐานแก่ศิษยานุศิษย์ จนท่านได้ฉายา หลวงพ่อตาทิพย์ เนื่องจากท่านสามารถนั่งสมาธิ หยั่งรู้ถึงเหตุการณ์
ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน ได้ ทำให้มีศรัทธาจากญาติโยมทั่วสารทิศ มาขอให้ ท่านช่วยตรวจดูความเป็นไปที่เกิดขึ้น
ใน อดีต อนาคต ปัจจุบัน เพื่อการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมปฏิปทาของท่านเป็นที่น่าเลื่อมใส
ศรัธทาแก่ญาติโยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากท่านมีความเมตตาอย่างสูง
(สุก ไก่เถื่อน) จากพระครูสังวร สมาธิวัตร(หลวงปู่แป๊ะ) จนมีความเชี่ยวชาญและได้เป็นอาจารย์ อบรมวิปัสสนา
กัมมัฏฐานแก่ศิษยานุศิษย์ จนท่านได้ฉายา หลวงพ่อตาทิพย์ เนื่องจากท่านสามารถนั่งสมาธิ หยั่งรู้ถึงเหตุการณ์
ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน ได้ ทำให้มีศรัทธาจากญาติโยมทั่วสารทิศ มาขอให้ ท่านช่วยตรวจดูความเป็นไปที่เกิดขึ้น
ใน อดีต อนาคต ปัจจุบัน เพื่อการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมปฏิปทาของท่านเป็นที่น่าเลื่อมใส
ศรัธทาแก่ญาติโยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากท่านมีความเมตตาอย่างสูง
พระญาณรังษี ( จวบ สุภัทโท ) ฉายา สุภัทโท อายุ 92 พรรษา วิทยาฐานะ นักธรรมชั้นเอก วัดราชสิทธาราม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ สมัยท่านยังมีชีวิตอยู่ ดำรงตำแหน่ง รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ปัจจุบันท่านได้ถึงแก่มรณภาพ เมื่อเช้าวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2550 เมื่อเวลา04.04น. ที่โรงพยาบาลธนบุรี ด้วยโรคชราภาพ สิริรวม อายุ 94 ปี 73 พรรษา
สถานะเดิม ชื่อ จวบ นามสกุล เกิดมงคล เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2456 ปีฉลู บิดาชื่อ ท่านขุนมัธยมกิจ เกิดมงคล(ขำ) มารดาชื่อ นางแย้ม เกิดมลคล อาศัยอยู่ หมู่ที่ 1 ต.ดอนตะหนิน อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นพื้นที่ธุระกันดารในสมัยนั้น บิดาท่านประกอบอาชีพ รับราชการเป็นนายอำเภอหลายแห่ง ซึ่งท่านได้สร้างประโยชน์แก่ทางราชการเป็นอย่างมาก ได้ย้ายไปประจำในหลายจังหวัด ส่วน มารดาท่านประกอบอาชีพ ทำนา ซึ่งหลวงปู่ได้อาศัยป้าและญาติพี่น้องดูแลเลี้ยงดู จนเติบโต และได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษา โรงเรียนเดิม ใน อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ต่อมาท่านได้ย้ายตามบิดาไปหลายแห่ง
บรรพชา เมื่อท่านมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2477 ณ วัดบ้านเสมาใหญ่ ต.ดอนตะเนิน อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา โดยมีพระครูจันทร สรคุณ (หลวงปู่เสี่ยง) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้นได้ อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ในวันเดียวกัน
เหตุแห่งการบวชตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุดแห่งธรรม เหตุที่ท่านได้อุปสมบท เพื่อต้องการทดแทนพระคุณบิดา มารดา เมื่อย่างเข้าอายุ 20 ปี จึงได้อุปสมบทให้กับบิดาและมาราดา หลังจากนั้นในพรรษาแรกท่านได้ไปจำพรรษา ณ วัดบ้านทองหลางน้อย อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา และได้ศึกษาเล่าเรียนพระกัมมัฏฐาน จากนั้นได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่แจ้ง ซึ่งเป็นพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น มีวาจาสิทธิ์และมีญาณหยั่งรู้ และได้เป็นสัทธรรมมิกกับพระอาจารย์ มั่น ภูริทัตโต ซึ่งเป็นเพื่อนทางธรรมกัน ในพรรษาแรกหลวงปู่แจ้งได้เรียกพระสงฆ์เข้าไปพบหลายองค์ ได้ให้เข้าแถว หลวงปู่แจ้งได้ชี้บอก "รูปนี้สึก รูปนี้สึก รูปนี้สึก องค์นี้สึก" พอชี้มาที่หลวงปู่จวบ หลวงปู่แจ้ง ท่านพูดว่า "องค์นี้ไม่ศึก" หลวงปู่จวบท่านคิดในใจว่าอยากลาสึก ท่านแปลกใจว่าทำไมหลวงปู่แจ้งถึงบอกว่า ไม่สึก ดังนั้นหลวงปู่จวบจึงได้กลับมาคิดใคร่ครวญถึงคำพูดของพระอาจารย์แจ้ง หลังนั้นจากอีก 3 วันต่อมา ท่านได้เรียกหลวงปู่จวบเข้าไปพบเพราะว่ามีศพผู้หญิงตายมาได้ 2 วัน ตั้งศพไว้ที่ศาลา หลวงปู่จวบได้เข้าไปที่ศาลา ในใจของท่านเกิดความกลัวเพราะไม่เคยเห็น อีกใจนึงก็เกรงใจท่านพระอาจารย์แจ้ง จึงขึ้นไปที่ศาลา เพื่อพิจารณาซากอสุภะ เมื่อเห็นแล้วได้พิจารณาจนเกิดความสังเวชขึ้นในใจและได้พิจารณาซากศพที่ศาลาเป็นเวลาหนึ่งคืน เพราะหลวงปู่แจ้งไม่ให้ท่านลงจากศาลา หลังจากออกพรรษา พระสงฆ์ในรุ่นราวคราวเดียวกันได้ทยอยลาสึก เป็นไปตามลำดับ ตามคำที่หลวงปู่แจ้งได้บอกอย่างไม่น่าเชื่อ จึงทำให้หลวงปู่เกิดความประหลาดใจ หลังจากนั้นหลวงปู่จวบจึงยังไม่ตัดสินใจที่จะลาสิกขาในพรรษานั้น จนท่านได้ศึกษาเล่าเรียนกับพระอาจารย์แจ้ง และประพฤติปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด ให้การช่วยเหลือกิจการของสงฆ์ พร้อมอุปัฏฐากรับใช้พระอาจารย์แจ้งเป็นเวลา 6 พรรษา หลังจากนั้นท่านได้ขอลาหลวงปู่แจ้ง เพื่อไปธุดงค์และแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ท่านได้เริ่มออกเดินธุดงค์จาก จ.นครราชสีมา ผ่านป่าดงพญาเย็น ซึ่งเป็นปารกชัดและน่ากลัวเป็นยิ่งนัก หลวงปู่มีความองอาจ กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว มักน้อย สันโดด ได้ธุดงค์ผ่าน อ.ปากช่อง ใช้เวลาเดินธุดงค์เป็นเวลานาน ท่านมุ่งหน้ามาที่กรุงเทพมหานครฯ พอเดินทางมาถึง อ.ปากช่อง ท่านเข้าใจว่าได้มาถึง จ.อยุธยาแล้ว เพราะหนทางลำบากธุระกันดารมาก แต่ท่านก็ไม่ย่อท้อต่อหนทางที่ลำบาก จากนั้นได้สอบถามเส้นทางจากชาวบ้าน เพื่อมุ่งหน้าออกเดินทางไปที่สำนัก วัดพลับ กทม. ซึ่งท่านได้ยินชื่อเสียงและคำบอกกล่าวจากพระอาจารย์แจ้ง ว่าเป็นสำนักที่ปฏิบัติเคร่งครัด น่าเลื่อมใสศรัทธา และมีอาจารย์ผู้สอนวิชาชั้นสูง (สำนักวัดพลับในสมัยนั้นเป็นดินลูกลัง มีต้นไม้ลังใหญ่คู่หนึ่ง และต้นไม้อีกจำนวนมาก ซึ่งไม่ได้เจริญอย่างปัจจุบันนี้) เมื่อท่านได้เดินทางมาถึง สำนักวัดพลับ ได้พักพำนักในบริเวณสำนักวัดพลับ และได้เข้าไปติดต่อขอพำนักและศึกษาเล่าเรียน ได้มาขอพำนักอาศัยกับพระเลขาที่มีหน้าที่ผู้ดูแลพระสงฆ์ เข้าออกภายในวัด พระเลขาเห็นว่าหลวงปู่เป็นพระต่างจังหวัดจึงไม่รับท่านเข้ามาพำนักอาศัย หลวงปู่จวบจึงเกิดความท้อใจ ท่านจึงได้ตั้งจิตอธิษฐาน "ข้าพเจ้าตั้งใจมาประพฤติปฏิบัติและศึกษาเล่าเรียนอย่างเคร่งครัด ณ สำนักวัดพลับแห่งนี้ ขอให้มีผู้ช่วยเหลือ ให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จตามความประสงค์" หลังจากต่อมานั้นอีก 3 วัน ได้เกิดเหตุการณ์ปาฏิหารย์ขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ หลวงปู่จวบได้พบกับเจ้าอาวาส พระอาจารย์สังวรานุวงศ์เถระ (พระอาจารย์ สอน) โดยความบังเอิญ เมื่อท่านพระอาจารย์สอนได้เห็นและได้พูดคุยกับหลวงปู่จวบ ท่านได้ให้ความเมตตากับหลวงปู่จวบ จึงได้เป็นผู้รับรอง กับพระเลขาที่ท่านได้หมอบหมายให้ดูแล ท่านได้ให้การรับรองหลวงปู่จวบพำนักอาศัย ณ สำนักวัดพลับแห่งนี้ และหลวงปู่ได้ศึกษาเล่าเรียนในสำนักวัดพลับ ระยะเวลาหนึ่งแล้ว หลังจากนั้นท่านพระอาจารย์สอน ได้ฝากหลวงปู่จวบให้เป็นศิษย์ของพระครูสมาธิวัตร (พระอาจารย์ แป้ะ) และได้ให้อาจารย์แป้ะ เป็นอาจารย์ผู้ฝึกสอน ทางด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน จากนั้นหลวงปู่จวบได้ศึกษานักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก ควบคู่กันไป กับการเรียนพระกัมมัฏฐาน หลวงปู่ได้ศึกษานักธรรมจาก สำนักวัดอรุณราชวราราม กทม. เมื่อหลวงปู่จวบศึกษานักธรรมชั้นเอกสำเร็จ หลังจากนั้นหลวงปู่ได้ตั้งใจปฏิบัติตน และฝึกสมถะกัมมัฏฐาน อย่างจริงจัง ตั้งแต่บัดนั้นมา
ในปี พ.ศ.2485 เป็นต้นมาหลวงปู่จวบได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์กับพระครูสมาธิวัตร (อาจารย์ แป้ะ) ซึ่งเป็นอาจารย์วิปัสสนากัมฏฐาน ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น (พระครูสมาธิวัตร ท่านได้รับพระราชทาน พัดยศงา ที่ทำจากงาช้างสาร จากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 9) เป็นพระสงฆ์ที่มีคุณธรรมน่าเลื่อมใสศรัทธาในสำนักวัดพลับ ท่านพระอาจารย์แป้ะ เป็นพระที่มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์และมีญาณหยั่งรู้ ในอดีต อนาคต ปัจจบัน และ สามารถรู้ความคิดของบุคคลได้ หลวงปู่จวบได้เล่าให้ฟังว่าในสมัยนั้นมีพระสงฆ์ได้มาศึกษาเล่าเรียนกับพระอาจารย์แป้ะเป็นจำนวนมาก ท่านพระอาจารย์แป้ะ ได้ตรวจดูจริตนิสัยของพระสงฆ์แต่ละรูปที่มาฝากตัวเป็นศิษย์ ได้ให้พระกรรมฐาน ซึ่งแตกต่างกันตามจริตนิสัยของลูกศิษย์แต่ละรูป จึงให้หลวงปู่จวบปฏิบัติพระกรรมฐานแนวสมถะกัมมัฏฐาน โดยใช้คำภาวนาบริกรรมว่า "พุธโธ" หลังจากนั้นหลวงปู่ได้ ฝึกฝนจนชำนาญ จนเกิด ปิติ ทั้ง 5 เป็นลำดับขั้น (จะกล่าวอย่างละเอียดในวิธีปฏิบัติ) จนจิตได้เข้าถึงจตุรฌาณและได้วสีทั้ง 5 จนเป็นผู้ชำนาญในการเข้าออกฌาณ และพระอาจารย์แป้ะได้สอนวิธีการเพ่งกสิณ หลวงปู่ได้ ฝึกฝนกสิณทั้ง 10 กอง ในเหตุการณ์ครั้งนั้น หลวงปู่ได้เล่าว่า ท่านได้ทดสอบกสิณไฟ ที่ได้ฝึกฝนมา ในขณะนั้นมีพระสงฆ์รูปหนึ่งในสำนักที่ไม่ชอบจริตนิสัยกันได้พูดจาดูถูกตำหนิท่าน หลวงปู่จวบจึงได้ทดสอบกสิณไฟ กำหนดเพ่งไปที่ก้นของพระสงฆ์รูปนั้น ปรากฏว่าพระสงฆ์รูปนั้นเอะอะโวยวายร้องลั่นกุฏิที่พัก ว่า " ใครทำกู " หลวงปู่จวบแอบยิ้มชอบใจ ในวันต่อมาช่วงเช้า หลังฉันภัตตาหารเสร็จ พระอาจารย์แป้ะ ได้เรียกหลวงปู่จวบเข้าไปพบตักเตือน โดยท่านพระอาจารย์แป้ะ บอกว่า "ที่ได้เพ่งกสิณไฟเมื่อคืน อย่าได้ทำอีก มันเป็นบาป" จึงทำให้หลวงปู่จวบตกใจกลัวในพระอาจารย์ ว่ารู้ได้อย่างไร หลังจากนั้นหลวงปู่ได้เชื่อฟังและปฏิบัติตามจนสำเร็จวิชากสิญทั้ง 10 กอง ในระยะเวลาไม่นาน หลวงปู่ได้นั้งพระกรรมฐานที่กุฏิวิปัสสนากรรมฐานที่รายรอบพระอุโบสถ ซึ่งเป็นกุฏิสำหรับพระสงฆ์ใช้ปฏิบัติพระกรรมฐาน หลังละ 1 รูป ในแต่ละวันจะมีพระสงฆ์เข้าปฏิบัติในกุฏิทั้งหลายนี้ หลังฉันภัตตาหารเช้าและทำภาระกิจส่วนตัวเสร็จหลวงปู่จวบจะเข้าไปนั่งปฏิบัติพระกรรมฐานในกุฏิแห่งนี้เป็นประจำทุกวัน ในช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นในประเทศไทย ในเขตธนบุรี ในใจหนึ่งก็กลัวระเบิดจะทิ้งลง แต่เหตุการณ์ก็ผ่านไปได้ ทางราชการได้เกณฑ์ผู้คนให้หลบหนี และส่งสัญญาณเตือนภัย เมื่อสัญญาณเตือนแต่ละครั้งดังขึ้น ก็สร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชน วิ่งหนีเพื่อเข้าหลุมหลบภัยที่ทางการจัดไว้ หลวงปู่ใช้กุฏินั่งกรรมฐานเป็นที่หลบภัย "ในใจก็บริกรรมภาวนา พุธโธ" ท่านขอให้บารมีคุณพระช่วยปกปักรักษาคุ้มครองอย่าได้มีภัยเกิดขึ้นในสำนักวัดพลับแห่งนี้ เมื่อเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นติดต่อกันหลายปี ทางการเห็นว่าไม่ปลอดภัยในบางช่วง ได้เตือนให้ประชายนในเขตใกล้เคียง ในเขต ธนบุรี ลี้ภัยไปในจังหวัดอื่น หลวงปู่จวบจึงได้ลี้ภัยไปใน จ.อยุธยา ก็เป็นโอกาศดีที่ท่านได้ไปรู้จัก และศึกษาพูดคุยสนทนาธรรม กับหลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข จึงได้ข้อธรรมชั้นสูง และหลวงปู่บุดดาได้รับรองหลวงปู่จวบว่าเป็นพระสงฆ์ที่มีคุณธรรมสูงอีกองค์หนึ่งในกรุงเทพมหานครฯ ต่อมาหลวงปู่ทั้ง 2 องค์ ได้เป็นสหธรรมมิกซึ่งกันและกัน โดยหลวงปู่บุดดา ได้มีอายุพรรษามากว่า หลวงปู่จวบถึง 12 พรรษา แต่ทั้ง 2 ท่านก็ได้นับถือกันเป็นเพื่อน (เมื่อไหร่ที่หลวงปู่จวบได้มีโอกาสเดินทางผ่าน จ.อยุธยา หลวงปู่จวบมักจะแวะเวียนไปเยี่ยมหลวงปู่บุดดา และสนทนาธรรม กันบ่อยครั้งในช่วงบั้นปลายชีวิต) หลังจากเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ยุติลง หลวงปู่จวบได้กลับมาประพฤติปฏิบัติที่สำนักวัดพลับตามเดิม
ต่อมาในปี พ.ศ.2500 พระอาจารย์สอน เจ้าอาวาส องค์ที่ 17 สำนักวัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) ได้ถึงกาลมรณะภาพลงด้วยโรคชราภาพ ท่านพระอาจารย์สอน ได้มอบภาระให้หลวงปู่เป็นผู้ดูแล พระอาจารย์แป้ะ ก็ชราภาพมากแล้ว หลวงปู่จวบได้อุปัฏฐากดูแลพระอาจารย์แป้ะ จนถึงวาระสุดท้าย และพระอาจารย์แป้ะได้ถึงกาลมรณะภาพลง ในปี พ.ศ.2502 หลังจากนั้นสำนักวัดพลับได้ ว่างเว้นเจ้าอาวาส ในสมัยนั้นพระสังฆาธิการได้เรียกหลวงปู่จวบเข้าไปพบหลายครั้ง เพื่อจะหมอบหมายแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสสำนักวัดพลับ แต่หลวงปู่ได้ให้การปฏิเสธพระสังฆาธิการทุกครั้ง หลวงปู่ได้เล่าให้ฟังว่า " ถ้าท่านให้ผมเป็นเจ้าอาวาส ผมจะหนีเข้าป่า " เพราะหลวงปู่ได้ให้เวลาต่อการประพฤติปฏิบัติเป็นอย่างมาก เกรงว่าถ้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาส ซึ่งมีภาระหน้าที่มาก จะทำให้ไม่มีเวลาต่อการประพฤติปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ท่านจึงไม่รับตำแหน่งเจ้าอาวาส เป็นเพียงผู้รักษาการเจ้าอาวาส หลังจากนั้นพระสังฆาธิการเห็นว่าสำนักวัดพลับ ว่างเว้นเจ้าอาวาสเป็นระยะเวลานานแล้ว จึงได้มีคำสั้งแต่งตั้งพระราชวิสุทธิญาณ (พระอาจารย์ อยู่) เข้ามารับตำแหน่งเจ้าอาวาส องค์ที่ 18 สำนักวัดพลับ และยังได้เมตตาหลวงปู่จวบ โดยแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส และเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น "พระครูวิจิตรวิหารวัตร"
ปฏิปทา หลังจากปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา หลวงปู่จวบจะโปรดญาติโยม และให้การช่วยเหลือศรัทธาญาติโยมจากทุกสารทิศที่ได้เดินทางมา เพราะท่านเป็นหมอยาแพทย์แผนไทย
ญาติโยมที่ป่วยไข้เป็นโรคต่างๆที่รักษาไม่หาย จะมาขอความช่วยเหลือจากหลวงปู่ และในบางครั้งมีญาติโยมที่ป่วยไข้อาการหนักมาพักรักษาตัว หลวงปู่ท่านไม่รังเกียจและให้การช่วยเหลือทันที โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย ท่านยังคงทำวัตร สวดมนต์ เจริญจิตภาวนา เจริญพระกรรมฐาน เป็นประจำทุกวัน ในวันพระท่านจะลง อุโบสถเพื่อเทศน์โปรดญาติโยมเป็นประจำ และท่านยังเป็นอาจารย์ผู้มอบกัมมัฏฐานให้แก่ศิษยานุศิษย์ที่สนใจ มาประพฤติประฏิบัติ นำไปเป็นหลักเกณฑ์ตามแบบฉบับสำนักวัดพลับ (รายละเอียดขึ้นครูพระกรรมฐาน) จนเป็นที่เลื่องลือถึงความสามารถ ท่านได้ตรวจดูดวงชะตาในเหตุการณ์ อดีต อนาคต ปัจจุบัน ที่ได้จากภาพนิมิตแต่ละเหตุการณ์มารวมกัน และทายผลจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้แก่ญาติโยม ที่ได้ญาณหยั่งรู้จากการฝึกฝนปฏิบัติพระกรรมฐาน โดยทายผลได้อย่างแม่นยำ จนลูกศิยษ์และประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ ให้ขนานนามท่านว่า "หลวงพ่อตาทิพย์ หลวงปู่ตาทิพย์ " หลวงปู่ได้ให้การช่วยเหลือ ศิษยานุศิษย์และประชาชนทั้งหลาย ให้ประกอบสัมมาอาชีพโดยสุจริต ทำให้ศิษยานุศิษย์และประชาชนมีความเจริญรุ่งเรื่อง ทางด้านตำแหน่งหน้าที่ การงาน ทางด้านอาชีพค้าขาย นักธุรกิจ นักการเมือง พ่อค้า ประชาชน และอีกหลายสาขาอาชีพ ท่านได้นำวิชาความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา เป็นประโยชน์ศิษยานุศิษย์และประชาชนทั้งหลาย ปฏิปทาของท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่ญาติโยมที่พบเห็น และได้อบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ของท่านให้เป็นผู้มีความเมตตาซึ่งกันและกัน ท่านได้ช่วยเหลือวัดว่าอารามเป็นจำนวนนวนมาก โดยเฉพาะวัดบ้านเกิดและใกล้เคียง ท่านเป็นพระสงฆ์ผู้เป็นแบบอย่างที่ดีงาม มีคุณธรรมสูง ให้การช่วยเหลือสงเคราะห์ญาติโยม มักน้อย สันโดด หายากที่จะมีสิ่งใดมาเปรียบเทียบได้ ท่านได้สงเคราะห์ช่วยเหลือญาติโยมติดต่อกันเป็นเวลานาน ถึง 40 ปี จวบจนถึงกาลมรณะภาพ ด้วยโรคชรา ท่านมาคติธรรมที่น่าเลื่อมใสศรัทธาแก่ศิษยานุศิษย์ เป็นพระสงฆ์ผู้เปี่่ยมล้นด้วยความเมตตาแก่ชาวโลก ท่านพูดเสมอว่า " มีเมตตามากมาก ต้องมีขันติมากมาก " เป็นการบ่งบอกถึงยความอดทนและปฏิปทาที่น่าเลื่อมใสของท่าน ที่ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยเมื้อยล้า ท่านสละเวลาของท่านช่วยเหลือผู้คน ถึงแม้ว่าจะชราภาพลง หลวงปู่ก็ยังสงเคราะห์ญาติโยมตลอดเวลา
ญาติโยมที่ป่วยไข้เป็นโรคต่างๆที่รักษาไม่หาย จะมาขอความช่วยเหลือจากหลวงปู่ และในบางครั้งมีญาติโยมที่ป่วยไข้อาการหนักมาพักรักษาตัว หลวงปู่ท่านไม่รังเกียจและให้การช่วยเหลือทันที โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย ท่านยังคงทำวัตร สวดมนต์ เจริญจิตภาวนา เจริญพระกรรมฐาน เป็นประจำทุกวัน ในวันพระท่านจะลง อุโบสถเพื่อเทศน์โปรดญาติโยมเป็นประจำ และท่านยังเป็นอาจารย์ผู้มอบกัมมัฏฐานให้แก่ศิษยานุศิษย์ที่สนใจ มาประพฤติประฏิบัติ นำไปเป็นหลักเกณฑ์ตามแบบฉบับสำนักวัดพลับ (รายละเอียดขึ้นครูพระกรรมฐาน) จนเป็นที่เลื่องลือถึงความสามารถ ท่านได้ตรวจดูดวงชะตาในเหตุการณ์ อดีต อนาคต ปัจจุบัน ที่ได้จากภาพนิมิตแต่ละเหตุการณ์มารวมกัน และทายผลจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้แก่ญาติโยม ที่ได้ญาณหยั่งรู้จากการฝึกฝนปฏิบัติพระกรรมฐาน โดยทายผลได้อย่างแม่นยำ จนลูกศิยษ์และประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ ให้ขนานนามท่านว่า "หลวงพ่อตาทิพย์ หลวงปู่ตาทิพย์ " หลวงปู่ได้ให้การช่วยเหลือ ศิษยานุศิษย์และประชาชนทั้งหลาย ให้ประกอบสัมมาอาชีพโดยสุจริต ทำให้ศิษยานุศิษย์และประชาชนมีความเจริญรุ่งเรื่อง ทางด้านตำแหน่งหน้าที่ การงาน ทางด้านอาชีพค้าขาย นักธุรกิจ นักการเมือง พ่อค้า ประชาชน และอีกหลายสาขาอาชีพ ท่านได้นำวิชาความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา เป็นประโยชน์ศิษยานุศิษย์และประชาชนทั้งหลาย ปฏิปทาของท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่ญาติโยมที่พบเห็น และได้อบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ของท่านให้เป็นผู้มีความเมตตาซึ่งกันและกัน ท่านได้ช่วยเหลือวัดว่าอารามเป็นจำนวนนวนมาก โดยเฉพาะวัดบ้านเกิดและใกล้เคียง ท่านเป็นพระสงฆ์ผู้เป็นแบบอย่างที่ดีงาม มีคุณธรรมสูง ให้การช่วยเหลือสงเคราะห์ญาติโยม มักน้อย สันโดด หายากที่จะมีสิ่งใดมาเปรียบเทียบได้ ท่านได้สงเคราะห์ช่วยเหลือญาติโยมติดต่อกันเป็นเวลานาน ถึง 40 ปี จวบจนถึงกาลมรณะภาพ ด้วยโรคชรา ท่านมาคติธรรมที่น่าเลื่อมใสศรัทธาแก่ศิษยานุศิษย์ เป็นพระสงฆ์ผู้เปี่่ยมล้นด้วยความเมตตาแก่ชาวโลก ท่านพูดเสมอว่า " มีเมตตามากมาก ต้องมีขันติมากมาก " เป็นการบ่งบอกถึงยความอดทนและปฏิปทาที่น่าเลื่อมใสของท่าน ที่ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยเมื้อยล้า ท่านสละเวลาของท่านช่วยเหลือผู้คน ถึงแม้ว่าจะชราภาพลง หลวงปู่ก็ยังสงเคราะห์ญาติโยมตลอดเวลา
วัตถุมงคลและวิชาความรู้ต่างๆ หลวงปู่จวบ ได้ศึกษาวิชาอักขระขอมและเลขยันต์ การปลุกเสกอักขระเลขยันต์ จากเกจิอาจารย์ ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน หลวงปู่ได้จัดทำวัตถุมงคล เช่น พระผงหมอดินยาใบโพธิ์ ตระกรุดกันภัย น้ำเต้ากันภัย น้ำเต้าเรียกเงินเรียกทอง ผ้ายันต์ เหรียญรูปหล่อ พระผงสมเด็จ พระผงพระร่วงเปิดโลก (พิมพ์แบบพระต่างๆ ที่หลวงปู่ได้อธิตฐานจิต ดูลายละเอียด) หมีดหมอ และน้ำพระพุทธมนต์ค้าขาย น้ำพระพุทธมนต์ปัดเป่ารักษาโรคภัย และยังได้ศึกษาศาสตร์วิชาแขนงต่างๆทางโหราศาสตร์ เช่น การตั้งชื่อ พิธีกรรมบวงสรวง สะเดาะเคราะห์ต่อชะตา พิธีกรรมรับดาวนพเคราะห์ทั้ง 9 เจิมรถยนต์ เจิมบ้านเรือน เสริมบารมีลงนะหน้าทอง นะมหานิยม นะเรียกเงินเรียกทอง จตุโรบังเกิดทรัพย์ ยันต์ตรีนิสิงเห การยกเสาเอกบ้านเรือนและบริษัทห้างร้าน การวางศิลาฤกษ์ การอธิษฐานจิตให้ค้าขายดี อธิษฐานจิตวัตถุมงคเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และอีกมามาย ซึ่งเป็นเมตตามหานิยมค้าขาย ร่ำรวยเงินทอง และทำให้ลาภผลทวีเพิ่มพูล สมบูรณ์พูนผล ทั้งทางโลกและทางธรรม จึงเป็นประโยชน์แก่ศิษยานุศิษย์และประชาชน
ลำดับสมณศักดิ์
1. ในปี พ.ศ.2490 หลวงปู่จวบได้รับการแต่งตั้งเป็น พระปลัดฐานานุกรมในพระปริยัติโกศล อดีตเจ้าอาวาสวัดราชสิทธารามฯ (พระสังวรานุวงเถร (สอน))
2. ในปี พ.ศ.2494 หลวงปู่จวบได้รับการแต่งตั้งเป็น พระครูปลัดฐานานุกรมในพระสังวรานุวงศ์เถระ อดีตเจ้าอาวาสวัดราชสิทธารามฯ (พระสังวรานุวงเถร (สอน))
3. ในปี พ.ศ.2500 หลวงปู่จวบได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระอารามหลวง ชั้นโท (จปร.) ในนามว่า "พระครูวิจิตรวิหารวัตร"
4. ในปีพ.ศ.2504 หลวงปู่จวบได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก
5. ในปี พ.ศ.2507 หลวงปู่จวบได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ
6. ในปี พ.ศ.2534 หลวงปู่จวบได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก
7. ในปี พ.ศ.2542 หลวงปู่จวบได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามว่า "พระญาณรังษี" เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542
2. ในปี พ.ศ.2494 หลวงปู่จวบได้รับการแต่งตั้งเป็น พระครูปลัดฐานานุกรมในพระสังวรานุวงศ์เถระ อดีตเจ้าอาวาสวัดราชสิทธารามฯ (พระสังวรานุวงเถร (สอน))
3. ในปี พ.ศ.2500 หลวงปู่จวบได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระอารามหลวง ชั้นโท (จปร.) ในนามว่า "พระครูวิจิตรวิหารวัตร"
4. ในปีพ.ศ.2504 หลวงปู่จวบได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก
5. ในปี พ.ศ.2507 หลวงปู่จวบได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ
6. ในปี พ.ศ.2534 หลวงปู่จวบได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก
7. ในปี พ.ศ.2542 หลวงปู่จวบได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามว่า "พระญาณรังษี" เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542
ผลงานบูรณปฏิสังขรณ์
เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชสิทธารามราชวรวิหาร ช่วยแบ่งเบาภาระงานบูรณปฏิสังขรณ์
ที่ท่านเจ้าอาวาส พระธรรมรัตนวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดราชสิทธารามราชวรวิหาร ได้เป็นประธาน
ที่ท่านเจ้าอาวาส พระธรรมรัตนวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดราชสิทธารามราชวรวิหาร ได้เป็นประธาน
1. ในปี พ.ศ. 2501 หลวงปู่จวบได้เป็นผู้ดำริในการปฏิสังขรณ์ พระอุโบสถวัดราชสิทธารามเปลี่ยนช่อฟ้า ใบระกาและกระเบื้อง
2. ในปี พ.ศ. 2512 หลวงปู่จวบได้เป็นรองประธานบูรณะฐานชุกชีพระประฐานในอุโบสถวัดราชสิทธารามพร้อม ทั้งสาวกทั้ง 3 องค์ และ ลงรักปิดทองพระประธานและพระสาวก
3. ในปี พ.ศ. 2513 หลวงปู่จวบได้เป็นรองประธาน บูรณะซุ้มประตูพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม
4. ในปี พ.ศ. 2527 หลวงปู่จวบได้เป็นรองประธานในการบูรณะโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดราชสิทธาราม
5. ในปี พ.ศ. 2529 หลวงปู่จวบได้เป็นรองประธานในการปูหินอ่อนระเบียงรอบพระอุโบสถ
6. ในปี พ.ศ. 2530 หลวงปู่จวบได้เป็นรองประธานบูรณะกุฏิวิปัสสนารอบพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม
7. ในปี พ.ศ. 2531 หลวงปู่จวบได้เป็นรองประธานบูรณะพระตำหนักเก๋งจีนและพระตำหนักจันทร์
8. ในปี พ.ศ. 2535 หลวงปู่จวบได้ซ่อมแซมธรรมมาสน์ในศาลาการเปรียญ ลงรักปิดทอง
2. ในปี พ.ศ. 2512 หลวงปู่จวบได้เป็นรองประธานบูรณะฐานชุกชีพระประฐานในอุโบสถวัดราชสิทธารามพร้อม ทั้งสาวกทั้ง 3 องค์ และ ลงรักปิดทองพระประธานและพระสาวก
3. ในปี พ.ศ. 2513 หลวงปู่จวบได้เป็นรองประธาน บูรณะซุ้มประตูพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม
4. ในปี พ.ศ. 2527 หลวงปู่จวบได้เป็นรองประธานในการบูรณะโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดราชสิทธาราม
5. ในปี พ.ศ. 2529 หลวงปู่จวบได้เป็นรองประธานในการปูหินอ่อนระเบียงรอบพระอุโบสถ
6. ในปี พ.ศ. 2530 หลวงปู่จวบได้เป็นรองประธานบูรณะกุฏิวิปัสสนารอบพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม
7. ในปี พ.ศ. 2531 หลวงปู่จวบได้เป็นรองประธานบูรณะพระตำหนักเก๋งจีนและพระตำหนักจันทร์
8. ในปี พ.ศ. 2535 หลวงปู่จวบได้ซ่อมแซมธรรมมาสน์ในศาลาการเปรียญ ลงรักปิดทอง
1. ในปี พ.ศ. 2506 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้างกุฏิ 2 ชั้น เป็นคอนกรีตผสมไม้ กว้าง 7 เมตร ยาว 20 เมตร ที่วัดทุ่งจาน ต.นกออก อ.ปักธงชัย จ.นครราชศรีมา เป็นจำนวนเงิน 800,000 บาท
2. ในปี พ.ศ. 2508 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้างอุโบสถ มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันกว้าง 7 เมตร ที่วัดทุ่งจาน ต.นกออก อ.ปักธงชัย จ.นครราชศรีมา เป็นจำนวนเงิน 4,000,000 บาท
3. ในปี พ.ศ. 2513 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้างเมรุ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่วัดทุ่งจาน ต.นกออก อ.ปักธงชัย จ.นครราชศรีมา เป็นจำนวนเงิน 4,000,000 บาท โดยมีงบประมาณ 6,000,000 บาท
4. ในปี พ.ศ. 2515 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้างศาลาการเปรียญ 2 ชั้น เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 9 เมตร ยาว 40 เมตร ที่วัดทุ่งจาน ต.นกออก อ.ปักธงชัย จ.นครราชศรีมา
5. ในปี พ.ศ. 2516 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้างอุโบสถ กว้าง 6 เมตร ยาว 12 เมตร ที่วัดบ้านทองหลางน้อย ต.ดอนตะหนิน อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา เป็นจำนวนเงิน 5,200,000 บาท
6. ในปี พ.ศ. 2517 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้างศาลาบำเพ็ญกุศล เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 15 เมตร ยาว 50 เมตร ที่วัดทุ่งจาน ต.นกออก อ.ปักธงชัย จ.นครราชศรีมา เป็นจำนวนเงิน 2,500,000 บาท
7. ในปี พ.ศ. 2518 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้างกุฏิสงฆ์ลักษณะคอนกรีตผสมไม้ กว้าง 5 เมตร ยาว 12 เมตร จำนวน 4 หลัง ที่วัดบ้านทองหลางน้อย ต.ดอนตะหนิน อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา เป็นจำนวนเงิน 7,502,000 บาท
8. ในปี พ.ศ. 2520 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานดำเนินการขุดสระเก็บน้ำ กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร ลึก 6 เมตร ที่วัดบ้านทองหลางน้อย ต.ดอนตะหนิน อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา เป็นจำนวนเงิน 1,500,000 บาท
9. ในปี พ.ศ. 2524 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานอำนวยการสร้างถนนลูกรังทางเข้าวัดบ้านทองหลางน้อย กว้าง 6 เมตร ระยะทาง 5 กิโลเมตร เป็นจำนวนเงิน 5,000,000 บาท
10. ในปี พ.ศ. 2536 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานการสร้างศาลาเอนกประสงค์ ที่วัดบ้านทองหลางน้อย ต.ดอนตะหนิน อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา เป็นจำนวนเงิน 25,000,000 บาท
11 ในปี พ.ศ. 2537 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้างแทงค์น้ำให้แก่วัดบ้านทองหลางน้อย ลักษณะคอนกรีต เสริมเหล็กกว้าง 4 เมตร ยาว 10 เมตร สูง 3 เมตร เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท
12. ในปี พ.ศ. 2538 หลวงปู่จวบได้บริจาคเงินให้เป็นสมบัติของโรงเรียน ภู่วิทยา (สาขาโนนแดง) อ.โนนแดง จ.นครราชสีมา เป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท
13. ในปี พ.ศ. 2538 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้างสนามวอลเล่ย์บอล ให้แก่โรงเรียนวัดบ้านทองหลางน้อย ต.ดอนตะหนิน อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท
14. ในปี พ.ศ. 2538 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้างห้องสมุดโรงเรียนวัดบ้านทองหลางน้อย ต.ดอนตะหนิน อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา เป็นจำนวนเงิน 110,000 บาท
15. ในปี พ.ศ. 2538 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานดำเนินการติดตั้งหมอแปลงไฟฟ้า เสาไฟฟ้าเพื่อใช้ในวัดบ้านทองหลางน้อย เป็นเงินจำนวน 190,000 บาท
16. ในปี พ.ศ. 2539 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้าง อาคารเรียน เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 3 ชั้น จำนวน 15 ห้องเรียน 3 ห้องพักครู 2 ห้องน้ำ ให้แก่โรงเรียนวัดบ้านทองหลางน้อย เป็นจำนวนเงิน 5,800,000 บาท
17. ในปี พ.ศ. 2539 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้าง มณฑปวิหารจตุรมุข กว้าง 12 เมตร ยาว 12 เมตร สูง 20 เมตร ที่วัดบ้านทองหลางน้อย เป็นเงินจำนวน 2,500,000 บาท
2. ในปี พ.ศ. 2508 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้างอุโบสถ มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันกว้าง 7 เมตร ที่วัดทุ่งจาน ต.นกออก อ.ปักธงชัย จ.นครราชศรีมา เป็นจำนวนเงิน 4,000,000 บาท
3. ในปี พ.ศ. 2513 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้างเมรุ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่วัดทุ่งจาน ต.นกออก อ.ปักธงชัย จ.นครราชศรีมา เป็นจำนวนเงิน 4,000,000 บาท โดยมีงบประมาณ 6,000,000 บาท
4. ในปี พ.ศ. 2515 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้างศาลาการเปรียญ 2 ชั้น เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 9 เมตร ยาว 40 เมตร ที่วัดทุ่งจาน ต.นกออก อ.ปักธงชัย จ.นครราชศรีมา
5. ในปี พ.ศ. 2516 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้างอุโบสถ กว้าง 6 เมตร ยาว 12 เมตร ที่วัดบ้านทองหลางน้อย ต.ดอนตะหนิน อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา เป็นจำนวนเงิน 5,200,000 บาท
6. ในปี พ.ศ. 2517 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้างศาลาบำเพ็ญกุศล เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 15 เมตร ยาว 50 เมตร ที่วัดทุ่งจาน ต.นกออก อ.ปักธงชัย จ.นครราชศรีมา เป็นจำนวนเงิน 2,500,000 บาท
7. ในปี พ.ศ. 2518 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้างกุฏิสงฆ์ลักษณะคอนกรีตผสมไม้ กว้าง 5 เมตร ยาว 12 เมตร จำนวน 4 หลัง ที่วัดบ้านทองหลางน้อย ต.ดอนตะหนิน อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา เป็นจำนวนเงิน 7,502,000 บาท
8. ในปี พ.ศ. 2520 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานดำเนินการขุดสระเก็บน้ำ กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร ลึก 6 เมตร ที่วัดบ้านทองหลางน้อย ต.ดอนตะหนิน อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา เป็นจำนวนเงิน 1,500,000 บาท
9. ในปี พ.ศ. 2524 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานอำนวยการสร้างถนนลูกรังทางเข้าวัดบ้านทองหลางน้อย กว้าง 6 เมตร ระยะทาง 5 กิโลเมตร เป็นจำนวนเงิน 5,000,000 บาท
10. ในปี พ.ศ. 2536 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานการสร้างศาลาเอนกประสงค์ ที่วัดบ้านทองหลางน้อย ต.ดอนตะหนิน อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา เป็นจำนวนเงิน 25,000,000 บาท
11 ในปี พ.ศ. 2537 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้างแทงค์น้ำให้แก่วัดบ้านทองหลางน้อย ลักษณะคอนกรีต เสริมเหล็กกว้าง 4 เมตร ยาว 10 เมตร สูง 3 เมตร เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท
12. ในปี พ.ศ. 2538 หลวงปู่จวบได้บริจาคเงินให้เป็นสมบัติของโรงเรียน ภู่วิทยา (สาขาโนนแดง) อ.โนนแดง จ.นครราชสีมา เป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท
13. ในปี พ.ศ. 2538 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้างสนามวอลเล่ย์บอล ให้แก่โรงเรียนวัดบ้านทองหลางน้อย ต.ดอนตะหนิน อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท
14. ในปี พ.ศ. 2538 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้างห้องสมุดโรงเรียนวัดบ้านทองหลางน้อย ต.ดอนตะหนิน อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา เป็นจำนวนเงิน 110,000 บาท
15. ในปี พ.ศ. 2538 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานดำเนินการติดตั้งหมอแปลงไฟฟ้า เสาไฟฟ้าเพื่อใช้ในวัดบ้านทองหลางน้อย เป็นเงินจำนวน 190,000 บาท
16. ในปี พ.ศ. 2539 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้าง อาคารเรียน เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 3 ชั้น จำนวน 15 ห้องเรียน 3 ห้องพักครู 2 ห้องน้ำ ให้แก่โรงเรียนวัดบ้านทองหลางน้อย เป็นจำนวนเงิน 5,800,000 บาท
17. ในปี พ.ศ. 2539 หลวงปู่จวบได้เป็นประธานสร้าง มณฑปวิหารจตุรมุข กว้าง 12 เมตร ยาว 12 เมตร สูง 20 เมตร ที่วัดบ้านทองหลางน้อย เป็นเงินจำนวน 2,500,000 บาท
Casino in Las Vegas: Guide & Info on the Best Casinos in
ตอบลบFind a Casino in jancasino.com Las Vegas and play games like blackjack, ventureberg.com/ roulette, septcasino craps 출장마사지 and more! We've got the complete gaming experience, exclusive restaurants,